เมนู

บทว่า สยํ ในคำว่า สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทติ มี
ความว่า ด้วยพระองค์เอง คือ ไม่มีคนอื่นแนะนำ. บทว่า อภิญฺญา แปลว่า
ด้วยอภิญญา อธิบายว่า ทรงรู้ด้วยพระญาณอันยิ่ง. บทว่า สฺจฉิกตฺวา คือ
ทรงทำให้ประจักษ์ชัด. ท่านทำการปฎิเสธการคาดคะเนเป็นต้น ด้วยบทว่า
สจฺฉิกตฺวา นั้น. บทว่า ปเวเทติ คือ ทรงให้รู้ ได้แก่ทรงให้ทราบ คือ
ทรงประกาศ.

เบื้องต้น - ท่ามกลาง - ที่สุด



บทว่า โส ธมฺมํ เทเสติ อาทิกลฺยาณํ ฯ ล ฯ ปริโยสานกลฺยาณํ
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงอาศัยพระกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ถึงจะ
ทรงงด (พระธรรมเทศนาไว้ชั่วคราว) แล้วทรงแสดงความสุขอันเกิดจากวิเวก
อย่างยอดเยี่ยม.1 ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความสุขอันเกิด
จากวิเวกนั้นน้อยบ้าง มากบ้าง ก็ทรงแสดงเฉพาะประการที่มีความงามใน
เบื้องต้น เป็นต้นเท่านั้น มีคำอธิบายว่า ทรงแสดงทำให้งามคือดี ได้แก่
ไม่ให้มีโทษเลย ทั้งในเบื้องต้น ทรงแสดงทำให้งามคือดี ได้แก่ไม่ให้มีโทษเลย
ทั้งในท่ามกลางทั้งในที่สุด. ในข้อนั้นมีอธิบายว่า เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
ของเทศนามีอยู่ เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดของศาสนา (คำสอน) ก็มีอยู่.
สำหรับเทศนาก่อน ในคาถา 4 บท บทที่ 1 ชื่อว่า เป็นเบื้องต้น
สองบทจากนั้นชื่อว่า เป็นท่ามกลาง บาทเดียวในตอนท้ายชื่อว่า เป็นที่สุด.
1. ปาฐะว่า หิตฺวาปิ อนุตฺตรํ วิเวกสุขํ เทเสติ ฏิกาจารย์ได้ขยายความออกไปว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า กำลังทรงแสดงธรรม ขณะที่บริษัทให้สาธุการ หรือพิจารณาธรรม ตามที่ได้ฟังแล้ว
จะทรงงดแสดงธรรม ชั้นต้นไว้ชั่วคราวก่อน ทรงเข้าผลสมาบัติ และทรงออกจากสมาบัติ ตาม
ที่ทรงกำหนดไว้แล้ว จึงจะทรงแสดงธรรม ต่อจากที่ได้หยุดพักไว้.

สำหรับพระสูตรที่มีอนุสนธิเดียว คำขึ้นต้นเป็นเบื้องต้น คำลงท้ายว่า อิทมโวจ
เป็นที่สุด ระหว่างคำขึ้นต้นและคำลงท้ายทั้งสองเป็นท่ามกลาง. สำหรับ
พระสูตรหลายอนุสนธิ อนุสนธิแรกเป็นเบื้องต้น อนุสนธิสุดท้ายเป็นที่สุด
อนุสนธิเดียวบ้าง สองอนุสนธิบ้าง อนุสนธิมาก (กว่า 1 หรือ 2) บ้าง
ในตอนกลางเป็นท่ามกลางทั้งหมด.
สำหรับศาสนา (คำสอน) ศีล สมาธิ และวิปัสสนา ชื่อว่า เป็น
เบื้องต้น. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ก็อะไรเป็น
เบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ศีลที่บริสุทธิ์ดี และทิฏฐิที่ตรง (สัมมา-
ทิฎฐิ) เป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายเป็นต้นดังนี้. ส่วนอริยมรรคที่ตรัส
ไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตตรัสรู้แล้วมีอยู่ ดังนี้
ชื่อว่า เป็นท่ามกลาง ผลและนิพพาน ชื่อว่า เป็นที่สุด. ผล ท่านกล่าวว่า
เป็นที่สุด ในประโยคนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ เพราะเหตุนั้นแล ท่านจง
ประพฤติพรหมจรรย์ นั่นเป็นฝั่ง นั่นเป็นที่สุด. นิพพาน ท่านกล่าวว่าเป็นที่สุด
ในประโยคนี้ว่า ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ ท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ที่หยั่งลง
ในนิพพาน มีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด.
ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของเทศนา.
เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรม ก็ทรงแสดงศีลในเบื้องต้น
ทรงแสดงมรรคในท่ามกลาง แล้วทรงแสดงนิพพานในที่สุด. ด้วยเหตุนั้น
พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงแสดงธรรมงามใน
เบื้องต้น งามในท่ามกลาง (และ) งามในที่สุด. เพราะเหตุนั้น พระธรรม
กถึกแม้รูปอื่น ๆ เมื่อจะกล่าวธรรม

ก็พึงแสดงศีลในเบื้องต้น พึงแสดง
มรรคในท่ามกลาง พึงแสดงนิพพานใน
ที่สุด นี้ ชื่อว่า เป็นหลักที่ดีของ
พระธรรมกถึก.

บทว่า สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ ความว่า ก็เทศนาของพระธรรมกถึก
รูปใด อาศัยการพรรณนาถึงข้าวต้ม ข้าวสวย หญิงและชายเป็นต้น (อาศัย
สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุจูงใจจึงแสดง) พระธรรมกถึกนั้น ไม่ชื่อว่าแสดงธรรมที่
พรั่งพร้อมไปด้วยอรรถ (ประโยชน์) แต่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละเทศนา
เห็นปานนั้นเสีย ทรงแสดงเทศนาที่อาศัยสติปัฏฐาน 4 เป็นต้น เพราะเหตุนั้น
พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า ทรงแสดงธรรมที่พรั่งพร้อมด้วยอรรถ(ประโยชน์).
ส่วนเทศนาของพระธรรมกถึกรูปใด ประกอบไปด้วยพยัญชนะประการ
เดียวเป็นต้นบ้าง มีพยัญชนะหายไปทุกตัวบ้าง ทิ้งพยัญชนะทั้งหมดและ
นิคหิตเป็นพยัญชนะไปหมดบ้าง เทศนาพระธรรมกถึกรูปนั้น ชื่อว่า
ไม่มีพยัญชนะ เพราะมีพยัญชนะไม่ครบเหมือนภาษาของพวกชาวป่า มีชาว
ทมิฬ ชาวกิรายตกะ และชาวโยนกเป็นต้น. แต่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงธรรม การทำพยัญชนะให้บริบูรณ์ ไม่ทรงลบล้างพยัญชนะทั้ง 10
ชนิดที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ความรู้เรื่องพยัญชนะมี 10 ประการ
คือ สิถิล 1 ธนิต 1 ทีฆะ 1 รัสสะ 1
ลหุ 1 ครุ 1 นิคหิต 1 สัมพันธ์ 1
ววัฎฐิตะ 1 วิมุตตะ 1

เพราะเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า ทรงแสดงธรรมพรั่งพร้อมไป
ด้วยพยัญชนะ.

คำว่า เกวลํ ในบทว่า เกวลปริปุณฺณํ นี้ เป็นคำใช้แทนคำว่า
สกลํ หมายถึงทั้งหมด. บทว่า ปริปุณฺณํ หมายถึงไม่ขาดไม่เกิน. มีคำอธิบาย
ดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมบริบูรณ์ทั้งหมดทีเดียว แม้เทศนา
เรื่องเดียวที่ไม่บริบูรณ์ก็ไม่มี. บทว่า ปริสุทฺธํ ได้แก่ ไม่มีอุปกิเลส.
อธิบายว่า พระธรรมกถึกรูปใดแสดงธรรมด้วยหวังว่า เราจักได้ลาภหรือ
สักการะเพราะอาลัยธรรมเทศนานี้ เทศนาของพระธรรมกถึกรูปนั้น ชื่อว่า
ไม่บริสุทธิ์. แต่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงมุ่งหวังโลกามิส ทรงมีพระทัย
อ่อนโยนด้วยการแผ่ประโยชน์เกื้อกูลด้วยการเจริญเมตตา ทรงแสดงธรรมด้วย
พระทัยที่ดำรงอยู่ในการยกย่อง เพราะเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า
ทรงแสดงธรรมบริสุทธิ์. บทว่า พฺรหฺมจริยํ. ในคำว่า พฺรหฺมจริยํ ปกาเสติ
นี้ ได้แก่ ศาสนา (คำสอน) ทั้งหมดที่สงเคราะห์ลงในไตรสิกขา เพราะ
เหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า ทรงประกาศพรหมจรรย์.
พึงเห็นเนื้อความในบทนี้อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น ฯลฯ บริสุทธิ์ และเมื่อทรงแสดงอย่างนี้ ชื่อว่า
ทรงประกาศศาสนพรหมจรรย์ทั้งสิ้นที่สงเคราะห์ลงในไตรสิกขา. บทว่า
พฺรหฺมจริยํ ความว่า จริยาที่ชื่อว่า เป็นพรหม เพราะหมายความว่า
ประเสริฐที่สุด อีกอย่างหนึ่ง มีคำอธิบายว่า จริยาของท่านผู้ประเสริฐทั้งหลาย
มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ชื่อว่า พรหมจรรย์.
บทว่า สาธุ โข ปน ความว่า ก็แล การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย
เป็นของดี. มีคำอธิบายว่า นำประโยชน์มาให้ นำความสุขมาให้. บทว่า
ตถารูปานํ อรหตํ ความว่า พระอรหันต์ทั้งหลาย เช่น พระโคดมผู้เจริญ
เป็นบุคคลที่เห็นได้ยาก โดยใช้เวลานานถึงหลายแสนโกฏิกัป (จึงจะได้
เห็น) มีสรีระดึงดูดใจแพรวพราวด้วยมหาปุริสลักษณะอันงามเลิศ 32 ประการ

ประดับประดาด้วยรัตนะ คือ อนุพยัญชนะ 80 ประการ แวดวงด้วยพระรัศมี
ที่แผ่ซ่านออกไปประมาณหนึ่งวา น่าทัศนาไม่น้อย มีกระแสเสียงแสดงธรรม
ไพเราะยิ่งนัก ได้เสียงเรียกขาน (นาม) ว่า เป็นพระอรหันต์ในโลก เพราะ
ได้บรรลุคุณตามเป็นจริง. บทว่า ทสฺสนํ โหติ ความว่า แม้เพียงลืมนัยน์ตา
ที่เป็นประกายด้วยความเลื่อมใสเป็นต้นขึ้นดูก็ยังเป็นการดี เพราะทำอัธยาศัย
อย่างนี้ว่า ก็ถ้าว่า เมื่อพระพุทธเจ้า เช่น พระโคดมผู้เจริญแสดงธรรมอยู่. ด้วย
พระสุรเสียงดุจเสียงพรหมซึ่งประกอบด้วยองค์ 8 เราทั้งหลายจักได้ฟังสักบท
หนึ่งไซร้ ก็จักเป็นการดียิ่งขึ้นไปอีกทีเดียว.
บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ ความว่า ชาวเวนาคปุระ
ทั้งหลายละทิ้งการงานทุกอย่างมีใจยินดี. ในบทว่า อญฺชลิมฺปณาเมตฺวา นี้
มีอธิบายว่า ชนเหล่าใดเข้ากันได้กับทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายสัมมาทิฏฐิและ
มิจฉาทิฏฐิ ชนเหล่านั้นคิดอย่างนี้ว่า ถ้าพวกมิจฉาทิฏฐิจักทักท้วงพวกเราว่า
เพราะเหตุไร ท่านทั้งหลาย จึงกราบพระสมณโคดม เราทั้งหลายจักตอบพวก
มิจฉาทิฏฐินั้นว่า แม้ด้วยเหตุเพียงทำอัญชลี ก็จัดเป็นการกราบด้วยหรือ ? ถ้า
พวกสัมมาทิฏฐิจักท้วงพวกเราว่า เพราะเหตุไร ท่านทั้งหลายจึงไม่กราบ
พระผู้มีพระภาคเจ้า เราทั้งหลายจักตอบว่า เพราะศีรษะกระทบพื้นดินเท่านั้น
หรือจึงจัดเป็นการกราบ แม้การประนมมือก็ถือเป็นการกราบเหมือนกันมิใช่
หรือ ?

ประกาศชื่อและโคตร


บทว่า นามโคตฺตํ ความว่า ชาวเวนาคปุระทั้งหลายเมื่อกล่าวว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าชื่อทัตตะเป็นบุตรของคนโน้น ชื่อมิตตะ เป็น